วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556


สรุปข้อกำหนด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

 

จากข้อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์  ที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ พ.ศ.2538 และแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

 

การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

1.  คุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อ (มาตรา 7)

1.1                มีความประพฤติดี

1.2                ไม่เคยต้องโทษจำคุณโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย

 ประมาทหรือความผิดลหุโทษ

1.3                ไม่เคยถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมาย เว้นแต่เป็นการต้องส่งคืนเนื่องจากได้รับ

 พระราชทานในชั้นสูงขึ้น

2.   การกระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน (มาตรา 8)

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

2.1                ผลงาน (มาตรา 8 (1)) (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1)

2.1.1  มีลักษณะ (มาตรา 9)

  เป็นผลงานดีเด่นหรือเป็นแบบอย่างอันควรแก่การสรรเสริญ หรือ

              เป็นการกระทำที่ฝ่าอันตรายหรือเสี่ยงภัยเพื่อปกป้องชีวิตหรือทรัพย์สินอันเป็นประโยชน์

ต่อสังคมหรือประเทศ

      2.1.2  เงื่อนไข (มาตรา 10)

  เป็นผลงานของตนเองและไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตาม

กฎหมายมาแล้ว (ถ้าทำเป็นหมู่ต้องแยกผลงานของแต่ละบุคคลให้ชัดเจน)

            ผลงานในฐานะบุคคลของนิติบุคคลต้องเป็นผลงานที่กระทำอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

  ผลงานในฐานะบุคคลของคณะบุคคล ต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะกิจและมี

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม หรือด้านอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

  ผลงานที่กระทำให้แก่นิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ

อันเป็นสาธารณประโยชน์

หมายเหตุ  นิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ผลงานที่ใช้เสนอขอพระราชทาน ต้องไม่เป็นผลงาน

ตามปกติที่ต้องกระทำในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น

 

                   2.1.3  ให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือส่วนราชการที่ฐานะเทียบกอง

สำหรับส่วนราชการของหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์หรือเกี่ยวข้องเป็นผู้รับรองผลงาน โดยต้องระบุผลงาน

การปฏิบัติงาน และระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ (มาตรา 11)

                   2.1.4   ให้เสนอขอพระราชทาน  ให้แก่

                           ผู้ไม่เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ มาแล้วในกรณีปกติ ให้เริ่มต้นจากชั้นที่ 7

เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ และให้เสนอขอพระราชทานในชั้นสูงขึ้นหนึ่งชั้นตามลำดับเมื่อกระทำความดีความชอบเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ โดยเว้นระยะเวลาแต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี (มาตรา 12)

                           ผู้เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ มาแล้วในกรณีปกติ ให้เสนอขอพระราชทาน

ในชั้นสูงขึ้นหนึ่งชั้นตามลำดับ โดยเว้นระยะเวลาแต่ละชั้นไม่น้อยกว่าห้าปี (มาตรา 12)

 

2.2              บริจาคทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ (มาตรา 8 (2)) (สิ่งที่ส่งมาด้วย 2)

2.1  มีลักษณะ (มาตรา 13)

                        บริจาคทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อการศาสนา การศึกษา การสาธารณสุข การแพทย์ การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ หรือความมั่นคงของชาติ และ

                        ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นของผู้บริจาคหรือมีสิทธิบริจาคในนามของตน

                   2.2  เงื่อนไข (มาตรา 14)

 ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทานจนได้รับพระราชทาน     

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมายมาแล้ว

                          การบริจาคทรัพย์สินที่มีผู้ร่วมบริจาคหลายคน ให้แสดงรายละเอียดด้วยว่าแต่ละคนบริจาคเป็นมูลค่าเท่าใด กรณีมิได้แสดงรายละเอียดไว้ให้ถือว่าบริจาคเป็นมูลค่าเท่า ๆ กัน

                        ถ้าบริจาคทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ ตามรายชื่อที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

                  การบริจาคทรัพย์สินที่มิใช่เงิน ต้องมีหนังสือรับรองมูลค่าแห่งทรัพย์สินที่บริจาคจากส่วนราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ หรือนิติบุคคลที่รับบริจาค หากเป็นที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็น     ผู้ออกหนังสือรับรองมูลค่าของที่ดินนั้น

                        ทรัพย์สินที่บริจาคต้องไม่มีเงื่อนไขหรือภาระติดพันใด ๆ

 

 

การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาคให้คำนวณตามหลักเกณฑ์  (มาตรา 20) ดังนี้

 

ทรัพย์สินที่บริจาค
ตามราคา/คำนวณเป็น
1.  ที่ดิน
เจ้าพนักงานที่ดินรับรองตามราคาประเมินทุนทรัพย์
เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่รับบริจาค
2.  เงินตราต่างประเทศ
เงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา และสถานที่ที่รับบริจาค
3.  ทรัพย์สินอื่น
ราคาตลาดของทรัพย์สินในขณะที่รับบริจาค

 

                  2.3  การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นใดให้แก่ผู้กระทำความดีความชอบบริจาคทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปตามจำนวนมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาคตามที่กำหนดไว้ใน สิ่งที่ส่งมาด้วย 1  (มาตรา 21)

 

3.  เอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ดิเรกคุณาภรณ์

     3.1     ประเภทผลงาน รายละเอียดตามสิ่งที่มาด้วย 2 พร้อมแนบเอกสารจำนวนอย่างละ 1 ชุด ดังนี้

               3.1.1  แบบหนังสือรับรองแสดงผลงาน (แบบ นร.1)  พร้อมลงนามผู้ปฏิบัติ

               3.1.2  รายละเอียดของผลงาน / ประกาศจากสถาบันหรือหน่วยงานผู้ให้รางวัล

     3.2     ประเภทบริจาคทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 พร้อมแนบเอกสารจำนวนอย่างละ 1 ชุด ดังนี้

               3.2.1  แบบหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สิน (แบบ นร.2) พร้อมลงนามผู้บริจาค

           3.2.2  สำเนาใบเสร็จรับเงิน

            3.2.3  สำเนาทะเบียนบ้าน                              ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ

            3.2.4  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




สิ่งที่ส่งมาด้วย 1

 


 


บัญชีที่ 1

บัญชีแสดงจำนวนมูลค่าของทรัพย์สินที่เสนอขอพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

ชั้นเครื่องราชฯ
มูลค่าของทรัพย์สิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ที่เสนอขอพระราชทาน
7
6
5
4
3
2
1
 
100,000 บาท ขึ้นไป
200,000 บาท ขึ้นไป
500,000 บาท ขึ้นไป
1,500,000 บาท ขึ้นไป
6,000,000 บาท ขึ้นไป
14,000,000 บาท ขึ้นไป
30,000,000 บาท ขึ้นไป
 

 

หมายเหตุ    1.  ชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เสนอขอพระราชทานขึ้นกับจำนวนมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค

              2. จำนวนเงินที่บริจาคสามารถเก็บสมทบไว้ขอในปีต่อ ๆ ไปได้

                  3.  ใบเสร็จที่ใช้ในการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้อีกได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น